ช่วงวิกฤตการณ์โควิต19 จะบริหารทรัพย์สินอย่างไรดี

       

       นับตั้งแต่เจ้าเชื้อไวรัสโคโรน่าเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น คนไทยเราได้ประสบกับปัญหา

 ต่างๆ มากมาย หลายคนโดนลดเงินเดือน โดนให้หยุดงานชั่วคราว และหลายคนต้องตกงานหรือเลิกธุรกิจกิจการที่ทำอยู่ จิตใจก็มีแต่ความวิตก

 กังวลเพราะในแต่ละวันก็มีแต่ข่าวคนป่วย จำนวนคนที่ตายเพิ่มขึ้น ข่าวกิจการหลายๆแห่งทั้งในและนอกประเทศที่ทยอยกันปิดกิจการหรือปลด

 พนักงาน

      ทางผู้เขียนเลยพยายามรวบรวมวิธีการบริหารทรัพย์สินเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านในช่วงนี้ ซึ่งหลายท่านมีเวลา

 มากขึ้นที่จะไตร่ตรองหรือดำเนินการใดๆเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และเพิ่มรายได้ให้แก่ท่านผู้อ่านในช่วงวิกฤตนี้ ดังต่อไปนี้

      1. ตรวจสอบดูว่า เรามีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง สภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร มีการใช้ประโยชน์สูงสุดแล้วหรือยัง มีตรงไหนต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง

      2. มีทรัพย์สินไหนที่สามารถปล่อยเช่าหรือขายออกเพื่อเพิ่มกระแสเงินสดให้กับเราได้ ก็ทำการติดป้ายขายหรือให้เช่า  หรือหาบริษัท agency

 ช่วยปล่อยทรัพย์สินให้กับเรา โดยเฉพาะทรัพย์สินที่เรายังต้องมีภาระผ่อนส่งธนาคารอยู่และยังไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ

      3. ทรัพย์สินตัวไหนที่มีปัญหาจะต้องแก้ไข ปรับปรุง เช่น บ้านที่มีสภาพห้องน้ำชำรุด ที่ดินที่มีคนอื่นใช้เป็นทางเข้าออกโดยไม่ถูกต้องตาม

 กฎหมาย ที่ดินที่มีปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินกับที่ดินแปลงข้างเคียง ก็ให้ทำการหาแนวทางและดำเนินการแก้ไข

      4. ดูงบประมาณที่มีอยู่สำหรับการแก้ไข ปรับปรุงทรัพย์สิน แล้วดูว่าเรื่องไหนสำคัญมากน้อยกว่ากัน ให้ทำเป็น Priority list  ขึ้นมาว่า

 ทรัพย์สินไหนจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขก่อนและหลัง

      5. ดูตัวเลขเปรียบเทียบด้วยว่า หากแก้ไข ปรับปรุงทรัพย์สินในแต่ละที่ที่มีงบประมาณที่จะทำได้แล้ว รายได้ที่จะเข้ามาจะคุ้มค่ากับการลงทุน

 ไหม ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่า แม้จะดูแล้วไม่คุ้มค่าในขณะนี้ แต่อยากให้ดูในระยะยาว เพราะยังไงเงินที่ใช้ในการปรับปรุงทรัพย์สินของเราก็ไม่ไป

 ไหน ยังไงก็อยู่ในทรัพย์สินของเรานั้นแหละ(ถ้ามีจะลงทุน) ดีกว่าไปลงทุนอย่างอื่นซึ่งเงินของเรามีโอกาสหายไปทั้งเงินต้นและรายได้ที่จะเข้ามา

      6. ศึกษาเรื่อง "ภาษีทรัพย์สินใหม่" ที่เริ่มใช้ในปี 2563 นี้ เพราะจะได้ทราบรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในแต่ละปีในการถือครองทรัพย์สินโดยเฉพาะ

 เรื่องต้นไม้หรือสัตว์เลี้ยงที่จะต้องใช้ในการที่จะเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีสภาพว่างเปล่า ไม่มีการใช้ประโยชน์ ให้เป็นทรัพย์สินที่มีการทำเกษตรกรรม

 เพราะจะทำให้ภาษีที่จะต้องเสียลดลงมากทีเดียว (มีเรื่อง "ภาษีทรัพย์สินใหม่" ในเวปไซด์นี้แล้ว)

      สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่า เรื่องที่เขียนนี้จะช่วยท่านผู้อ่านในการฝ่าฟันวิกฤตการณ์นี้ไปได้ไม่มากก็น้อยครับ

 

-เขียนวันที่ 18 มิถุนายน 2563-

ภาพประกอบจาก The Standard

 

Visitors: 1,954